Problem Solving & Decisions making
1. การวิเคราะห์สถานการณ์
วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อหา”ความจริง” และสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การกำหนดปัญหา
2. การกำหนดปัญหาที่ถูกต้องชัดเจน
กำหนดปัญหา วิเคราะห์ว่าสิ่งใดเป็นปัญหาและสิ่งใดที่ดูเสมือนว่าจะเป็นปัญหา แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่
3. การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
ตรวจสอบสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหา การทดสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
4. การหาทางแก้ที่เป็นไปได้
การคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
5. การเลือกวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด
การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด โดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และองค์ประกอบที่สำคัญต่าง ๆ ในการเลือกวิธีแก้
6. การพิจารณาถึงผลกระทบอันอาจเกิดขึ้น
วิเคราะห์ผลกระทบจากการแก้ไขปัญหา ประเมินความเสี่ยง ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและสิ่งที่น่าจะเป็นเหตุ
7. การหาทางป้องกันและแก้ไข
ระบุงานที่จะต้องทำเพิ่มเติม เพื่อหาทางป้องกันมิให้เกิดปัญหา หรือเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และวิธีแก้ไขหากเกิดปัญหา
8. การวางแผนปฏิบัติ
การกำหนดแผนการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนตามวิธีแก้ที่ได้เลือกไว้ การกำหนดความ เสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นและการวางแผนป้องกันความเสี่ยงนั้น ๆ
9. การติดตามและประเมินผล
วิธีการติดตามผลของการแก้ปัญหา การประเมินผลเปรียบเทียบกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
10. สรุปและนำไปดำเนินการ
เป็นส่วนของการทำPLANNING ใน pDCA แต่แตกย่อยออกมาให้ละเอียดขึ้น โดยจะเห็นว่าเหมือนมีส่วนของ DCA ด้วย แต่จริงๆแล้วเป็นการวางแผน ไม่ได้เป็นการปฏิบัติเลยทันที ซึ่งจะต้องนำไปปฏิบัติอีกครั้ง จึงจะเป็น DCA เหมือนกับคำว่า Everything happen twice. คือทุกอย่างเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกคือในการวางแผน(จินตนาการ/ความคิด) และอกีครั้งเกิดเมือนำไปปฎิบัติ ยิ่งครั้งแรกชัดเจนครบถ้วนมากเท่าไร โอกาสที่ผลจะอออกมาเป็นเหมือนที่วางแผน ก็จะมากขึ้นตาม
วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น